บริการขออนุญาต ชิงโชคจับรางวัล และพร้อมบริการทุกขั้นตอนแรกจนเสร็จสิ้น
ตัวอย่าง กิจกรรม
- เขียนชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หย่อนลงกล่องรับชิ้นส่วน
- ส่ง sms เลขที่ใบเสร็จ ลุ้นรับรางวัล
- QR CODE รหัส ลุ้นรับรางวัล
- ลงทะเบียน ลุ้นรับรางวัล
- อื่นๆ
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่าง ปัจจุบัน การขออนุญาต ชิงโชค จะความสอดคล้องกับ สคบ. ดังนั้น ลูกค้าจะต้องลง ข้อมูลและเงื่อนไขให้ครบ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
การขออนุญาตเล่นการพนันแถมพก (ชิงโชค)
เอกสาร/หลักฐานที่ใช้
๑) หนังสือมอบอำนาจที่ระบุ วัน เดือน ปี ที่จัดให้มีการเล่นและติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
๒) กรณีผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคลจะต้องแนบหนังสือรับรองของนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนได้กับสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ พร้อมทั้งวัตถุประสงค์
๓) ใบเสนอราคาสิ่งของรางวัล ถ้าไม่มี่ให้ผู้ขอทำหนังสือรับรองสิ่งของรางวัล
๔) หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือหนังสือสัญญาการเป็นผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์
๕) ตัวอย่างสิ่งพิมพ์โฆษณาประชาสัมพันธ์การจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค
ค่าธรรมเนียม
- ๑ วัน ใบละ ๓๐๐ บาท
- ไม่เกิน ๑ อาทิตย์ ใบละ ๖๐๐ บาท
- ไม่เกิน ๑ เดือน ใบละ ๑,๕๐๐ บาท
- เกิน ๑ เดือนแต่ไม่เกิน ๖ เดือน ใบละ ๖,๐๐๐ บาท
- เกิน ๖ เดือนแต่ไม่เกิน ๑ ปีใบละ ๙,๐๐๐ บาท
ระยะเวลา ๒๐ วัน
ใบอนุญาตทุกฉบับต้องกำหนด
(1) ลักษณะข้อจำกัดและเงื่อนไขของการเล่นพนันโดยชัดแจ้ง
(2) สถานที่ วัน เดือน ปี และกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เล่น ถ้าเป็นใบอนุญาตสลากกินแบ่ง สลากกินรวบ และสวีป ให้ระบุจำนวนสลากที่จะขายกับสถานที่วันและเวลาที่จะออกด้วย
(3) จำนวนบุคคลผู้จะเข้าเล่นมีกำหนดหรือไม่ และไม่ให้บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์หรือไม่บรรลุนิติภาวะเข้าเล่นด้วย เว้นแต่การเล่นตามบัญชี ข. หมายเลข 16
มาตรา 8 การจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคโดยวิธีใด ๆ ในการประกอบกิจการค้าหรืออาชีพ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตก่อนจึงจะทำได้
มาตรา 9 สลากกินแบ่ง สลากกินรวบ และสวีป หรือการเล่นอย่างใดที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดนั้น ต้องส่งสลากให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตประทับตราเสียก่อน จึงนำออกจำหน่ายได้
ถ้ายังมิได้รับอนุญาตให้มีการเล่นที่กล่าวไว้ในวรรคก่อน ห้ามมิให้ประกาศโฆษณาหรือชักชวนโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้บุคคลใด ๆ เข้าร่วมในการเล่นนั้น
มาตรา 9 ทวิ(2) ห้ามมิให้ผู้ใดเสนอขายหรือขายสลากกินแบ่งที่ออกจำหน่ายตามมาตรา 9 และที่ยังมิได้ออกรางวัลเกินกว่าราคาที่กำหนดในสลาก
มาตรา 9 ตรี(3) ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 10 ทรัพย์สินพนันกันซึ่งจับได้ในวงการเล่นอันขัดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือขัดต่อข้อความในกฎกระทรวงหรือใบอนุญาตซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น เว้นแต่ทรัพย์สินซึ่งมิได้เอาออกพนัน
เครื่องมือที่ใช้ในการเล่นนั้น ให้ศาลมีอำนาจริบได้ตามกฎหมายลักษณะอาญา
ประกาศหรือเอกสารอย่างใด ๆ อันมุ่งหมายให้เป็นการชักชวนผู้อื่นให้เข้าเล่นดังกล่าวไว้ในมาตรา 9 วรรค 2 นั้น ตำรวจหรือกรมการอำเภอจะยึดและทำลายเสียก็ได้ ถ้าประกาศหรือเอกสารนั้นส่งทางไปรษณีย์ถึงผู้รับที่อยู่ในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานไปรษณีย์จะยึดประกาศหรือเอกสารนั้นไว้ก็ได้ แต่เจ้าพนักงานไปรษณีย์ต้องแจ้งให้ผู้รับทราบ ถ้าผู้รับมีข้อโต้แย้งว่าประกาศหรือเอกสารนั้นมิได้เกี่ยวแก่การพนัน ผู้รับจะนำคดีไปฟ้องศาลภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความจากเจ้าพนักงานไปรษณีย์ก็ได้ ถ้าผู้รับมิได้นำคดีไปฟ้องศาลก็ดี หรือเมื่อศาลสั่งยืนการยึดนั้นก็ดี เจ้าพนักงานไปรษณีย์มีอำนาจทำลายประกาศหรือเอกสารที่ยึดไว้นั้นได้
แต่เจ้าพนักงานไปรษณีย์จะเปิดซองหรือห่อออกดูโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรานี้ไม่ได้ เว้นแต่จะมีเครื่องหมายภายนอกแสดงว่า ในซองหรือในห่อนั้นมีสิ่งที่จะต้องริบและทำลายตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 11 เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตมีสิทธิจะเรียกใบอนุญาตคืนเมื่อมีเหตุสมควรเชื่อว่า ผู้รับใบอนุญาตกระทำการละเมิดพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวง หรือใบอนุญาตซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 12(1) ผู้ใดจัดให้มีการเล่น หรือทำอุบายล่อ ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนโดยทางตรงหรือทางอ้อมให้ผู้อื่นเข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานหรือรับอนุญาตแล้วแต่เล่นพลิกแพลงหรือผู้ใดเข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นอันขัดต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวง หรือข้อความในใบอนุญาต ผู้นั้นมีความผิดต่อไปนี้